เมนู

หมายความว่า นอกจากนิพพานนั้น พรหมจรรย์นั้นไม่ไปที่อื่น (อีกแล้ว).
ที่ชื่อว่า มีนิพพานเป็นที่สุด ก็เพราะนิพพานเป็นที่ลงท้ายคือเป็นที่สุดของ
พรหมจรรย์นั้น.
ท่านเรียกความเชื่อที่มาด้วยกันกับมรรคว่า รากตั้งมั่นแล้ว พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาอะไร จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย หากในสมัยนี้
ทรงหมายเอาความเป็นอนาคามีที่ประกอบด้วยฌาน. จริงอย่างนั้น ในสมัยนั้น
จิตที่เป็นอกุศลทั้ง 5 ดวงเป็นสภาพที่พราหมณ์ละได้แล้ว ด้วยมรรคแรก
นิวรณ์ทั้ง 5 ก็ละได้แล้วด้วยฌานที่ 1 เพราะฉะนั้น พราหมณ์นั้นตั้งอยู่ใน
ตำแหน่งอนาคามีที่ประกอบด้วยฌาน ไม่เสื่อมจากฌาน ตายไปก็ต้อง
ปรินิพพานในที่นั้นนั่นแหละ แต่ถ้าเมื่อพราหมณ์ปกครองลูกเมีย จัดการจัด
งานอยู่ ฌานหายไป เมื่อฌานหายไปแล้ว คติก็ไม่เกี่ยวเนื่องกัน แต่เมื่อฌาน
ไม่หาย คติจึงจะเกี่ยวเนื่องกัน เพราะฉะนั้น จึงตรัสหมายเอาความเป็น
อนาคามีที่ประกอบด้วยฌานนี้ อย่างนี้.
จบอรรถกถาอุณณาภพราหมณสูตรที่ 2

3. สาเกตสูตร



ว่าด้วยอินทรีย์ 5 พละ 5



[975] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอัญชนมิคทายวัน
ใกล้เมืองสาเกต ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่อินทรีย์ 5 อาศัยแล้ว ย่อมเป็น
พละ 5 ที่พละ 5 อาศัยแล้ว ย่อมเป็นอินทรีย์ 5 มีอยู่หรือหนอ ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลว่า 4 ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มี
พระภาคเจ้าเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นแบบอย่าง มีพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นที่พึ่ง ขอประทานวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มี
พระภาคเจ้าเถิด ภิกษุทั้งหลายได้สดับแล้วจักทรงจำไว้.
[976] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่อินทรีย์ 5 อาศัยแล้ว
เป็นพละ 5 ที่พละ 5 อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ 5 มีอยู่ ปริยายที่อินทรีย์ 5
อาศัยแล้ว เป็นพละ 5 ที่พละ 5 อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ 5 เป็นไฉน ?
[977] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็น
สัทธาพละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์
สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งใดเป็น
สตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์ สิ่งใด
เป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็น
สมาธินทรีย์ สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญา
พละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์.
[978] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำ ซึ่งไหลไปทาง
ทิศตะวันออก หลั่งไปทางทิศตะวันออก บ่าไปทางทิศตะวันออก ที่ตรงกลาง
แม่น้ำนั้นมีเกาะ ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความ
นับว่ากระแสเดียวมีอยู่ อนึ่ง ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึง
ซึ่งความนับว่า สองกระแสที่มีอยู่.
[979] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัย
แล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียวเป็นไฉน คือ น้ำในที่สุดด้านตะวันออก
และในที่สุดด้านตะวันตกแห่งเกาะนั้น ปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น
อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียว.

[980] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัย
แล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่าสองกระแสเป็นไฉน คือ น้ำในที่สุดด้านเหนือ
และในที่สุดด้านใต้แห่งเกาะนั้น ปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว
ย่อมถึงซึ่งความนับว่า สองกระแสฉันใด.
[981] ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์
สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งใดเป็น
วิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์
สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์
สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็น
สมาธินทรีย์ สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญา
พละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์.
[982] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ 5 อันตน
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุจึงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ใน
ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
จบสาเกตสูตรที่ 3

อรรถกถาสาเกตสูตร



สาเกตสูตรที่ 3.

คำว่า ในป่าอัญชัน คือในป่าที่ปลูกต้นไม้
มีดอกสีเหมือนดอกอัญชัน. คำว่า ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์
สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ คือ ก็ที่ชื่อว่า สัทธินทรีย์ เพราะอรรถว่าใหญ่ ในสิ่ง